สีของดาวฤกษ์
ดวงดาวทุกดวงบนท้องฟ้าทุกดวงนั้นมีความแตกต่างกัน เคยสังเกตกันไหมครับ ความแตกต่างอย่างหนึ่งที่สังเกตเห็นได้ง่าย นอกจะความสว่างของดวงดาว ก็คงจะเป็น สีของดวงดาวแต่ละดวงนั่นเอง ทำไมดาวบางดวงมีสีขาว บางดวงกลับสีออกน้ำเงินนิดๆ สีของดวงดาวเหล่านี้ เป็นตัวบอกถึง “อุณหภูมิผิว” ของดาวดวงนั้นไงล่ะ นอกจากนี้ นักดาราศาสตร์ยังได้จำแนกประเภทของสีเหล่านี้ เรียกว่า Spectral Classification หรือจำแนกตามสเปกตรัมของแสง โดยใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นตัวบอก … เอาล่ะ จะวิชาการมากไปแล้ว กลับมาๆ
จริงๆแล้วสีแดงดูแล้วน่าจะร้อนที่สุดใช่มั้ยล่ะครับ แต่ความจริงต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยที่ดาวฤกษ์สีน้ำเงินจะมีอุณหภูมิผิวสูงที่สุด รองลงมาก็เป็นสีขาว เหลือง และสีแดง จะมีอุณหภูมิผิวต่ำกว่าเพื่อน เรียงตามสีรุ้งได้เลยนะครับ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง นอกจากนี้ ยังแบ่งย่อยซอยสีไปได้อีกนะครับ เช่น น้ำเงิน-ขาว ขาว-เหลือง เหลือง-ขาว เยอะแยกมากมาย ส่วนดวงอาทิตย์ของเรา เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง ก็ไม่ร้อนมาก จริงมั้ยล่ะ (ซะเมื่อไหร่ T-T โลกร้อนๆๆๆ)
แต่เอ… เคยเห็นดาวสีเขียวกันไหมครับ ไม่เคยก็ไม่แปลกล่ะครับ เพราะเราไม่เห็นเป็นสีเขียวนั่นเอง ถ้าสังเกตท้องฟ้าดีๆ เราจะพบดาวทุกสี ยกเว้นสีเขียวครับ เพราะว่า การที่ดาวมีสีนั้น เกิดจากการแผ่รังสีถึงระดับความยาวคลื่นเข้มที่สุด อยู่ในช่วงสีใดช่วงสีหนึ่ง ดวงดาวจึงมีสีอยู่ในช่วงคลื่นสีนั้น แต่เมื่อถึงระดับพลังงานของสีเขียว แสงสีทุกสีก็จะเปล่งออกมารวมกันมาก กลายเป็นสีขาวไปซะงั้น ไม่เหลือให้เห็นว่ามีสีเขียวอยู่เลย อืม… อ่านแล้วเข้าใจได้ยากดี สรุปง่ายๆได้ว่า ดาวไม่มีสีเขียว เพราะมีสีอื่นเปล่งออกมาพร้อมๆกันด้วย ทั้งหมดจึงรวมกันให้เห็นเป็นสีขาวๆไงล่ะครับ
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม