armno.in.th logo

ใช้งาน Gulp.js

Armno's avatar
Published on February 26th, 2014
By Armno P.

ปกติเมื่อเราทำเว็บ ก็จะมีสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น

ขั้นตอนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ build process ที่จำเป็นต้องทำซ้ำๆ อยู่ตลอดเวลา Gulp เป็นตัวช่วยรัน task เหล่านี้ให้อัตโนมัติในระหว่างที่เรากำลัง develop อยู่ได้ครับ (อารมณ์แบบเปิดบอทเวลาเล่นเกม) ซึ่งเรายังสามารถสร้างเงื่อนไขในการรันแต่ละ task ให้ต่างกันได้ด้วย

ถ้าใครใช้ Grunt อยู่ก็จะพบว่าเป็น tool ลักษณะเดียวกัน เพียงแต่มีแนวคิดในการ config คนละแบบ และ gulp มี built-in watcher มาให้ตั้งแต่แรก

gulp logo

ติดตั้ง Gulp

ก่อนติดตั้ง Gulp ต้องมี node อยู่ในเครื่องก่อน จากนั้นก็ติดตั้งผ่าน command

$ npm install -g gulp

1st Gulp task

ลองทำ task ง่ายๆ ให้ Gulp log คำว่า lorem ipsum ใน console ทุกครั้งที่เรา save ไฟล์ index.html

$ mkdir firstgulp
$ cd firstgulp

อันดับแรกต้องติดตั้ง package gulp แบบ local (ใน project) ก่อน

$ npm install --save-dev gulp

จากนั้นสร้างไฟล์ใหม่ชื่อว่า gulpfile.js (เทียบได้กับ Grunfile.js ของ Grunt) เพื่อเขียน task แรกกัน

var gulp = require('gulp');

gulp.task('lorem', function() {
  console.log('lorem ipsum');
});

gulp.task('default', function() {
  gulp.watch('index.html', ['lorem']);
});

เสร็จแล้วก็แค่รัน

$ gulp

gulp-lorem

ในความเป็นจริงคงไม่มีใครใช้ gulp เพื่อ console.log เพียงอย่างเดียว มาดู use case ที่ใช้งานกันจริงๆ ดีกว่า

ใช้ Gulp compile Sass

เราลองมาตั้งค่าให้ Gulp compile Sass ให้เป็น css กัน หลักการง่ายๆ ก็คือสร้าง watcher task สำหรับไฟล์ .scss เมื่อไฟล์เหล่านี้ถูกแก้ไข ก็ให้ Gulp compile Sass ให้ครับ

Gulp plugin ของ Sass นั้นมีอยู่ 2 ตัวคือ gulp-sass กับ gulp-ruby-sass ซึ่ง gulp-sass นั้นทำงานได้เร็วกว่าก็จริง แต่ไม่ support indented syntax (.sass) ดังนั้นผมจึงเลือกใช้ gulp-ruby-sass แทน

อันดับแรกต้องลง Gulp plugin ที่ชื่อว่า gulp-ruby-sass ก่อน

$ npm install --save-dev gulp-ruby-sass

จากนั้นใน gulpfile.js ก็โหลด module gulp-ruby-sass เข้ามาใช้ และก็เพิ่ม watch task เข้าไปครับ

// gulpfile.js
var gulp = require('gulp');
var sass = require('gulp-ruby-sass');

gulp.task('css', function(){
  return sass('sass/')
        .pipe(gulp.dest('./css'));
});

gulp.task('default', function() {
  gulp.watch('sass/**/*.sass', ['css']);
});

ทุกครั้งที่เรา save ไฟล์ .sass ใน directory ‘sass’ (รวมถึง sub-directory) gulp ก็จะรัน task css ซึ่ง compile Sass เป็น CSS ตาม directory ปลายทางที่ระบุไว้

pipe() ของ Gulp ก็คล้ายๆ กับ pipe ของ Unix เลยครับ รับ output ของ command แรกไปเป็น input ของ command ต่อไป (และต่อไปเรื่อยๆ)

เพิ่ม task อีก

ลองให้ Gulp จัดการหลายๆ task พร้อมๆ กัน คือการ concatenate JavaScript, minify JavaScript และ minify HTML รวดเดียว

ก่อนอื่นต้องติดตั้ง plugin ที่จะใช้ก่อน

$ npm install --save-dev gulp-concat gulp-uglify gulp-htmlmin

จากนั้นเพิ่ม watcher กับ task เข้าไป

// gulpfile.js
var gulp = require('gulp');
var sass = require('gulp-ruby-sass');
var concat = require('gulp-concat');
var uglify = require('gulp-uglify');
var htmlmin = require('gulp-htmlmin');

gulp.task('css', function(){
  return sass('sass/')
        .pipe(gulp.dest('./css'));
});

gulp.task('js', function(){
  return gulp.src([
        './src/js/model.js',
        './src/js/controller.js'
        ])
        .pipe(concat('app.js'))
        .pipe(uglify())
        .pipe(gulp.dest('./js'));
});

gulp.task('html', function() {
  return gulp.src(['./src/index.html'])
        .pipe(htmlmin({collapseWhitespace: true}))
        .pipe(gulp.dest('.'));
});

gulp.task('default', ['css', 'js', 'html'], function() {
  gulp.watch('./sass/**/*.sass', ['css']);
  gulp.watch('./src/**/*.js', ['js']);
  gulp.watch('./src/index.html', ['html']);
});

หรือเขียนอีกสไตล์หนึ่ง ให้รัน build task ทุกครั้งที่เราแก้ไขไฟล์ครับ (แต่จะดูสิ้นเปลืองไปหน่อยถ้าโปรเจ็คมีขนาดใหญ่ เพราะต้องรันทุก task)

var gulp = require('gulp');
var sass = require('gulp-ruby-sass');
var concat = require('gulp-concat');
var uglify = require('gulp-uglify');
var htmlmin = require('gulp-htmlmin');

gulp.task('build', function() {
    sass('/sass')
        .pipe(gulp.dest('./css'));

    gulp.src([
        './src/js/model.js',
        './src/js/controller.js'
        ])
        .pipe(concat('app.js'))
        .pipe(uglify())
        .pipe(gulp.dest('./js'));

    gulp.src(['./src/index.html'])
        .pipe(htmlmin({collapseWhitespace: true}))
        .pipe(gulp.dest('.'));
});

gulp.task('default', function() {
  gulp.watch('./src/**/*', ['build']);
});

ด้วยความที่ gulpfile.js มีลักษณะคล้าย node app จึงมีวิธีเขียนได้หลายแบบ ได้ผลออกมาเหมือนกันครับ (คนที่เขียน nodejs เป็นอยู่แล้วน่าจะชอบ Gulp) นอกจากนี้ Gulp ยังมี plugin เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าจะเป็น tool อีกตัวที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในปี 2014 ครับ

ลองเล่นกันดูนะ

Tags:

Related posts