ดาวหางคืออะไร
ช่วงประมาณเดือนที่แล้ว วงการดาราศาสตร์คึกคักอีกครั้ง กับการเปิดตัว superstar คนใหม่แห่งฟากฟ้า นั่นก็คือ ดาวหางโฮล์มส์นั่นเอง เป็นอะไรที่ตื่นเต้นมากๆนะครับ เพราะอยู่ๆมันก็สว่างขึ้นมาเป็นล้านเท่าซะงั้น เอาล่ะ วันนี้มารู้จักดาวหางกันให้มากกว่านี้ดีกว่าครับ
ดาวหาง (Comet) เป็นวัตถุหนึ่งในระบบสุริยะของเรา มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินคือคำว่า Coma ที่แปลว่า “เส้นผม” สำหรับการอธิบายลักษณะของดาวหางได้ดีที่สุดคงเป็นคำว่า “ก้อนน้ำแข็งสกปรก” เพราะดาวหางประกอบด้วยน้ำแข็ง ก๊าซต่างๆเช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย นอกจากนี้ยังมีฝุ่นกับหินปะปนอยู่อีกด้วย (เป็นไง สกปรกจริงมั้ยล่ะ) มีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณนอกระบบสุริยะโน่นแน่ะ ในสมัยโบราณ ผู้คนชอบเปรียบเทียบดาวหางว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคร้าย เมื่อดาวหางปรากฏครั้งใด ก็จะนำหายนะมาสู่โลกเสมอ จริงๆแล้วมันไม่เกี่ยวกันซักกะนิด มันแค่บังเอิญน่ะครับ แต่ถ้าดาวหางดวงนั้นจะพุ่งมาชนโลก ที่เขาว่าไว้ก็คงจะเป็นจริงแฮะ
ดาวหางประกอบด้วยองค์ประกอบหลักๆ 3 ส่วนก็คือ
-
นิวเคลียส (Nucleus) ก็คือก้อนน้ำเข็งที่อยู่ใจกลางดาวหาง
-
โคมา (Coma) เป็นกลุ่มก๊าซที่ระเหิดอยู่อย่างหนาแน่น ห้อมล้อมนิวเคลียสไว้
-
หาง (Tail) หางมีสองชนิดคือ หางฝุ่นและหางไอออน ส่วนมากที่เราเห็นกันชัดๆนั่นเป็นหางฝุ่นครับ ส่วนหางไอออนนั้น เกิดจากการเรืองแสงของไอออนบริเวณหัวดาวหาง เมื่อได้รับพลังงานจากลมสุริยะครับ
ภาพดาวหางเฮลล์-บ็อบพ์ หางฝุ่นก็คือส่วนที่เป็นสีขาว ส่วนหางไอออนคือสีน้ำเงินครับ
นักดาราศาสตร์จำแนกดาวหางออกเป็น 2 ประเภทครับ คือดาวหางคาบสั้น (Short Peroid Comet) มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ต่ำกว่า 200 ปี และอีกประเภทหนึ่งคือ ดาวหางคาบยาว (Long Period Comet) ที่มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์มากกว่า 200 ปีขึ้นไป ส่วนมากวงโคจรของดาวหางเป็นรูปวงรี และไม่ค่อยมีระนาบกันซักเท่าไหร่ แต่ก็มีบางดวงนะครับ ที่วงโคจรไม่ได้เป็นวงรี แต่เป็นรูปพาราโบลา เข้ามาหาดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งแล้วก็ออกไป ไม่กลับมาอีกเลย
สิ่งที่ทำให้ดาวหางส่องแสงสว่างขึ้นมาได้ ก็เพราะได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ครับ ยิ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากเท่าไหร่ หางก็จะยิ่งยาวขึ้นเท่านั้น สำหรับดางหางที่มีชื่อเสียงในอดีต เช่น
ดาวหาง McNaught ปี 2007 สว่างที่สุดในรอบ 40 ปี
ดาวหาง Hyakutake ปี 1997
ดาวหาง Helley ปี 1986
เป็นไงล่ะครับ ดาวหางสวยๆกันทั้งนั้นเลย ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการดูดาวนะครับ