"พี่ฮะๆ ปีแสงนี่มีกี่วัน???"
เจอคำถามแบบนี้ อย่าเพิ่งมองว่าไร้สาระนะครับ ยังมีคนที่ไม่รู้จริงๆก็มี เพราะได้ยินคำว่า “ปีแสง” ก็จะนึกถึง “ปี” ซึ่งเป็นหน่วยของเวลา ก็เลยคิดว่า “ปีแสง” ก็คงเป็นหน่วยวัดเวลาอะไรซักอย่างเกี่ยวกับแสง… คิดแบบนี้ถือว่าดีนะครับ ในแง่ของการวิเคราะห์ แต่… มันผิดนะคร้าบบบ
จริงๆแล้ว ปีแสงคือหน่วยวัด “ระยะทาง” ครับ ซึ่ง 1 ปีแสง หมายถึง ระยะทางที่แสงเดินทางได้ใน 1 ปี แล้ว 1 ปีแสงเดินทางได้เท่าไหร่กันล่ะ
- 1 วินาที แสงเดินทางได้ประมาณ 300,000 กิโลเมตร (สามแสนกิโลเมตร)
- 1 ปี มี 365 วัน
- 1 วัน มี 24 ชั่วโมง
- 1 ชั่วโมง มี 60 นาที
- 1 นาที มี 60 วินาที
- ดังนั้น 1 ปี ก็มี 365x24x60x60 = 31,536,000 วินาที (สามสิบเอ็ดล้านกว่าๆ)
- และทำให้ 1 ปี แสงเดินทางได้เท่ากับ 31,536,000x300,000 = 9,480,600,000,000 กิโลเมตร
- (เก้าล้านสี่แสนแปดหมื่นหกร้อย ล้านอีกที กิโลเมตร)
ดูตัวเลขแล้วปวดหัวจัง เอาเป็นว่า 1 ปีแสงมันไกลมากๆๆๆๆๆ ถึงเก้าล้านล้านกิโลเมตรเลยล่ะ เหตุที่นักดาราศาสตร์ใช้หน่วยปีแสงในการวัดระยะทางของดวงดาว เนื่องจากดาวแต่ละดวงอยู่ไกลกันมาก ดาวฤกษ์ที่ใกล้โลกที่สุด ก็อยู่ห่างออกไป 4.2 ปีแสงแล้ว ดังนั้นพูดกันเป็นปีแสงจะทำให้เข้าใจง่ายกว่า และประหยัดตัวเลขกว่าการบอกว่าห่างออกไปกี่กิโลเมตร
แต่… มีอะไรที่เดินทางเร็วกว่าแสงมั้ยน้อ…???