armno.in.th logo

ความแตกต่างระหว่างดาวฤกษ์ - ดาวเคราะห์

Armno's avatar
Published on November 3rd, 2007
By Armno P.

สำหรับดวงดาวที่เรามองเห็นในเวลากลางคืนนั้น เกือบทั้งหมดเป็นดาวฤกษ์ครับ ตามที่เรียนกันมาตั้งแต่เด็กๆ

ถ้ามีคนถามว่า ดาวฤกษ์ หมายถึงอะไร เราก็คงตอบแบบที่ท่องมาตั้งแต่เด็กว่า ดาวฤกษ์ หมายถึง _ดาวเคราะห์ที่มีแสงสว่างในตัวเอง ใช่ไหมล่ะ

เอาล่ะ ถือว่าเป็นคำตอบที่ถูกละกัน แต่แสงสว่าง คงไม่ใช่ประเด็นสำคัญเพียงประเด็นเดียวที่จะตัดสิน ว่าดาวดวงไหนเป็นดาวฤกษ์ หรือดาวเคราะห์

โดยนิยามแล้ว ดาวฤกษ์หมายถึง ดาวที่สามารถผลิตพลังงานได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นก้อนแก๊สมวลมหาศาล การที่มันผลิตพลังงานได้เอง ทำให้เกิดแสงส่องสว่างขึ้นได้ ต่างจากดาวเคราะห์ที่มีแสงสว่าง แต่เป็นแสงสะท้อนจากดาวดวงอื่น

ดาวฤกษ์ที่เราเห็นกันทุกวันก็ได้แก่ดวงอาทิตย์ของเรานั่นเอง

ภาพดวงดาวโดย Ryan Hutton

ภาพโดย Ryan Hutton จาก unsplash.com

ส่วนดาวเคราะห์นั้น สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ได้ให้คำนิยามของดาวเคราะห์ไว้ดังนี้ครับ (24 สิงหาคม 2549)

  1. ไม่ใช่ดาวฤกษ์
  2. ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวารของดาวดวงอื่น
  3. มีแรงดึงดูดมากพอที่จะทำให้โครงสร้างของดาวเป็นทรงกลม
  4. เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์
  5. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์

ซึ่งตอนนี้ ดาวพลูโตที่เคยเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยะของเรา ก็ไม่ได้เป็นดาวเคราะห์อีกแล้ว แต่กลายเป็น ดาวเคราะห์แคระ ไปซะงั้น น่าสงสารจัง

ภาพดาวพลูโต

ภาพจาก space.com

เอาล่ะ ดูเหมือนจะเป็นวิชาการมากไปแล้ว เรามาดูเรื่องน่ารู้ของดาวฤกษ์และดาวเคราะห์กันบ้างดีกว่า

  1. ดาวฤกษ์เป็นก้อนแก๊สขนาดยักษ์ มวลทั้งหมดของมันอยู่ในสถานะแก๊สที่หนาแน่นยิ่งยวด หรือพลาสมา (แก๊สมีประจุ) แต่ยังไงก็ตาม แก๊สก็ยังเป็นแก๊ส หมายความว่า ถ้าเราไปถึงดาวฤกษ์ได้ เราสามารถเดินผ่านมันไปได้โดยไม่ชนกับอะไรเลย เพราะมันเป็นแก๊สนั่นเอง แต่ใครจะทนร้อนไหวล่ะ!
  2. นักดาราศาสตร์ประมาณการไว้ว่า จักรวาลของเรามีดาวฤกษ์อยู่ 1,000,000,000,000,000,000,000,000 ดวง!!! (เลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 ถึง 24 ตัว!) (ที่มา)
  3. ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกของเรามากที่สุด คือดาว พร็อกซิมาเซ็นทอรี่ (Proxima Centauri) ซึ่ออยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของเรา ออกไปประมาณ 4.2 ปีแสง
  4. ส่วนดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด (ไม่นับดวงอาทิตย์ของเรา) คือ ดาวซิริอุส (Sirius) ที่คนไทยเรียกว่า ดาวโจร นั่นแหละ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล - Wikipedia.org, หนังสือ เอกภพ เพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของจักรวาล, space.com

Tags:

Related posts