armno.in.th logo

เขียนบล็อก 10 ปี

Armno's avatar
Published on July 3rd, 2019
By Armno P.

เดือนพฤษภาคม 2019 ที่ผ่านมา ผมได้รับ email จาก dotarai ว่า ชื่อโดเมน armno.in.th ใกล้จะหมดอายุแล้ว หลังจากต่ออายุโดเมนครั้งล่าสุดเมื่อ 10 ปีก่อน ในปี 2009

ทำให้ผมนึกขึ้นได้ .. นี่ผ่านมา 10 ปีแล้วเหรอ(วะ)

ก็เลยถือโอกาสในวาระที่โดเมนหมดอายุ ฉลองครบรอบ 10 ปี ของบล็อกนี้ อยากจะเล่าถึงที่มาที่ไป สิ่งที่ได้พบเจอระหว่างทาง ปัจจุบัน และอนาคตของบล็อกนี้ครับ

ภาพ screenshot เมื่อ 10 ปีก่อน
ภาพ snapshot ของบล็อกนี้เมื่อ 10 ปีก่อน จาก Web Archive (https://web.archive.org/web/20090630010030/http://www.armno.in.th/)

Timeline คร่าวๆ

10 ปีก่อน ผมไม่คิดว่าบล็อกนี้จะอยู่ยาวถึง 10 ปี หวังแค่ว่า ถ้ามันยังอยู่ ถึงตอนนั้นน่าจะมีปัญญาจ่ายค่าโดเมนเอง (โดยไม่ต้องรอโปรฯ) ได้แล้ว

จากเดิมที่เขียนเรื่องดาราศาสตร์ เรื่องการดูดาว ก็ค่อยๆ หายไป กลายเป็นเรื่องการถ่ายภาพ เรื่อง tech ทั่วไป หรือหลังๆ มานี้ก็เกี่ยวกับเรื่องงาน การเขียน code อะไรก็ได้ที่ผ่านมาในชีวิตแต่ละช่วง ตอนนี้เรื่องจักรยานก็ยังมี!

ไม่ได้กำหนดแล้วว่ามันจะเป็นบล็อกเกี่ยวกับอะไร แต่มองว่าเป็น personal blog ธรรมดาๆ


สิ่งที่ได้เรียนรู้

จากการเขียนและอ่านบล็อกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีสิ่งที่ได้เรียนรู้ระหว่างทาง และอยากยึดเป็นแนวทางต่อไปของบล็อกนี้ ซึ่งอาจจะเหมาะ หรือไม่เหมาะกับบล็อกอื่นๆ ก็ได้ครับ

1. โฟกัสที่ content

เป็นเรื่องธรรมดาที่เจ้าของบล็อกหรือเว็บไซต์ชอบปรับแต่งเว็บตัวเอง ทำเว็บให้สวยขึ้น อัพเดท design บ่อยๆ แก้นั่นแก้นี่

ผมเองก็เป็น แก้ design หรือเพิ่ม feature ของบล็อกนี้อยู่ได้ไม่รู้จบ รู้สึกว่า อย่างน้อยก็ได้ทำให้บล็อก “ดีขึ้น” ยิ่งเราเป็น web developer อยู่แล้ว ยิ่งรู้สึกว่าต้องทำ ใช้เวลาไปกับมัน มากกว่าการเขียนโพสต์ใหม่ๆ ด้วยซ้ำ

แต่จริงๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดของบล็อกและเว็บไซต์ ในมุมมองของผู้ใช้ก็คือ content หรือ เนื้อหา

การเปลี่ยน theme, การแก้ CSS จุกจิกไม่ได้ทำให้ content ของบล็อกดีขึ้นเลย เพราะสุดท้ายแล้ว content มันก็ยังเหมือนเดิม ยังเท่าเดิม

คนที่เข้ามาอ่านบล็อกเรา เขาไม่ได้สนใจว่า design เราไม่ modern หรือ theme ที่ใช้นั้นไม่สวย ถ้าเขาหาสิ่งที่ต้องการเจอ หรือ เขาได้ประโยชน์อะไรใน content ของเรา

ตัวอย่างที่ดี(มาก) ก็เช่น บล็อกของพี่นู๋เนย nuuneoi.com, บล็อกของพี่ปุ๋ย somkiat.cc ถึงจะใช้ design เดิมมาหลายปี แต่ก็มี content คุณภาพออกใหม่เรื่อยๆ

ผมเองก็อยากจะทำให้ได้แบบนั้นเหมือนกัน

2. ให้ความสำคัญกับการเขียน มากกว่าเครื่องมือที่ใช้

บล็อกที่ดี นอกจากจะอ่านง่ายแล้ว ก็ควรจะทำให้เขียนง่ายด้วย

ข้อนี้ได้เรียนรู้กับตัวเองเมื่อตอนเปลี่ยนมาใช้ static site generator นี่แหละครับ ตอนแรกประทับใจที่มันเรียบง่าย เร็ว และก็ควบคุมทุกอย่างได้ดั่งใจ

แต่พอไปดูจำนวนบทความที่เขียน กลับน้อยลงกว่าตอนใช้ WordPress อีก ก็มานั่งสังเกตตัวเองว่าทำไมเขียนน้อยลง

พบว่ามันต้องใช้พลังเยอะกว่าเดิมในการเขียนโพสต์ใหม่แต่ละครั้ง มันมีขั้นตอนระหว่างทางมากขึ้น มีเรื่องอื่นมาให้จัดการอีก (สำหรับผมแล้ว การเตรียมรูปใช้เวลานานที่สุด)

ผมเชื่อว่า blog engine, tools, stack ที่ใช้ทำบล็อก ถึงแม้ว่าจะล้ำแค่ไหน หรือคะแนน performance จาก pagespeed/lighthouse เต็ม 100 จะไม่มีประโยชน์กับบล็อกของเราเลย ถ้านำมันมาใช้แล้ว กลับทำให้เราเขียนบล็อกน้อยลงกว่าเดิม

ระบบหลังบ้านที่ดีของบล็อก ควรให้ประสบการณ์ในการเขียนที่ดีแก่ผู้เขียนด้วย ตัวอย่างเช่น editor ของ Medium.com นั้นผมชอบมาก ให้ tool จัดการเรื่องอื่นให้เรา แล้วเราแค่โฟกัสกับ content อย่างเดียว ทำให้เราผลิต content ได้ง่ายขึ้น

Your tools shouldn’t get in your way.

(สำหรับ static site generator นั้นมี 3rd-party CMS มาให้เลือกใช้บ้าง เช่น Netlify CMS หรือ Forestry ยังรู้สึกว่าไม่สะดวกเท่าพวก CMS อยู่ดี)

3. เขียนบันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้มา

เขียนบันทึกประสบการณ์ของเราที่ได้ผ่านมา เป็นเรื่องเล็กๆ ก็ได้ เช่น ได้ลองเล่น tool ตัวใหม่ เจอ plugin ตัวใหม่ที่น่าสนใจ หรือแก้บั๊กตัวนึงได้ บั๊กคืออะไร แก้ยังไง

วันหนึ่งมันอาจจะเป็นประโยชน์กับคนอื่น คนที่เจอปัญหาเดียวกับที่เราเจอ

4. เขียนเพื่อทดสอบตัวเองว่าเข้าใจแล้วจริงๆ

ข้อนี้ผมได้เรียนรู้มาจากตอนฝึกงาน หัวหน้าอธิบายงานให้ฟัง แล้วถามว่า เข้าใจไหม ผมก็ตอบ “เข้าใจครับ” ไว้ก่อน (เหมือนตอนที่ครูถามในห้องเรียนว่าเข้าใจไหม นักเรียนทุกคนตอบว่าเข้าใจ)

แล้วหัวหน้าก็ถามต่อว่า “เข้าใจว่ายังไง” ผมก็อธิบายมั่วๆ ถูกมั่ง ผิดมั่ง

หลังจากนั้นมาผมไม่ตอบว่า “เข้าใจครับ” ไว้ก่อน อีกเลย ถ้าไม่ได้เข้าใจจริงๆ

ถ้าอ่านหรือฟังเรื่องหนึ่งมาจนคิดว่าเข้าใจแล้ว ควรสามารถอธิบายเรื่องนั้นด้วยคำพูดของเราเองได้ด้วย การเขียนบล็อกก็เป็นวิธีการอธิบายวิธีหนึ่ง ที่ง่ายและได้ผล

มีหลายครั้งที่ผมได้รู้ในระหว่างที่เขียนว่า เรายังไม่ได้เข้าใจจริงๆ นี่หว่า ก็ต้องไปหาข้อมูลเพิ่ม

5. เขียนบันทึกให้ตัวเราเองในอนาคตอ่าน

บางเรื่องที่คิดว่าตัวเราเองในอนาคตต้องลืมแน่ๆ จึงควรจะจดไว้ อะไรที่ต้องทำบ่อยๆ แต่ก็จำไม่ได้สักที ต้องเสิช google ทุกครั้ง

บันทึกไว้ก็มีประโยชน์กับตัวเองเหมือนกัน คราวหน้าต้องทำอีกก็มาเปิดที่บันทึกไว้

บันทึกของผมที่ต้องกลับไปเปิดบ่อยๆ ก็เช่น:

6. นึกถึงผู้อ่าน

บล็อกที่อ่านแล้วรู้สึก “กำลังดี” คือบล็อกของคุณแอน iannnnn.com ครับ

7. อย่ากลัว

อย่ากลัวว่าเนื้อหาจะซ้ำกับคนอื่น ถึงแม้มีคนเขียนเป็นพันคนแล้ว แต่ถ้าเราเขียนด้วยความเข้าใจของเรา ด้วยภาษาของเราเอง มันก็จะไม่ซ้ำใคร

และถ้ามองว่า การเขียนคือการเรียนรู้ ก็ไม่ผิดอะไรที่มันจะซ้ำกับคนอื่น เพราะเราก็เรียนรู้จากคนอื่นๆ เหมือนกัน

อย่ากลัวว่าเราจะเขียนไม่ดี เพราะไม่มีใครเขียนได้ดีตั้งแต่แรก การฝึกเท่านั้นที่จะทำให้ทำได้ดีขึ้น ผมได้ย้อนไปอ่านโพสต์เก่าๆ ของตัวเองที่เขียนไว้เมื่อหลายปีก่อน ที่แย่ๆ ก็เยอะมาก แต่มันก็เป็นเรื่องธรรมดา

อย่ากลัวว่ามันจะไม่ perfect ไม่มีใครคาดหวังว่าบล็อกของเราจะต้อง perfect นอกจากตัวเราเอง

ทะเลสาบ Kawaguchi
รูปพักสายตา ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา - ทะเลสาบ Kawaguchi

สิบปีต่อไป?

คงเหมือน 10 ปีก่อนที่มองไม่ออกว่าอนาคตจะเป็นยังไง แต่มีแผนระยะสั้นก็คือ

Happy blogging ครับ

ปล. ผ่านมา 10 ปี ราคาโดเมนยังเท่าเดิม เงินเฟ้อทำอะไรไม่ได้จริงๆ 😁

Tags:

Related posts