Git Commands ที่ใช้บ่อยๆ

Armno's avatar image
Published on July 29th, 2019
By Armno P.

Git เป็นโปรแกรมที่ผมต้องใช้ทำงานเกือบทุกวัน โปรเจ็คของที่บริษัทอยู่บน GitLab ส่วนโปรเจ็คหมาแมวของตัวเองอยู่บน GitHub

ที่บริษัทใช้ flow ที่อยู่ตรงกลางระหว่าง Gitflow กับ GitHub flow ไม่ได้มีระบบ branch อะไรซับซ้อนมาก (แล้วแต่แต่ละโปรเจ็คอีกที) pattern การใช้ Git ของผมมันก็จะเหมือนๆ เดิม วนไปวนมาอยู่แถวๆ นี้ครับ

โพสต์นี้ไม่ใช่การสอนวิธีการใช้งาน Git จึงจะไม่ได้ลงรายละเอียดแต่ละ command เยอะนะครับ


Config

$ git config <key> <value>
$ git config --get <key>

Status

$ git status

ใช้บ่อยที่สุด เพื่อเช็คว่า status ของ repo เป็นแบบที่คิดไว้หรือไม่ ผมมักจะรัน git status ก่อน command อื่นเสมอ

สิ่งที่ผมดูจาก git status ไม่ได้เป็นข้อความ แต่เป็น “ภาพ” ครับ สมมุติว่า output ออกมาเป็นแบบนี้

รูป output จาก git status แบบปกติ
รูป output จาก git status แบบปกติ

สิ่งที่ผมเห็นคือ: ก้อนสีเหลือง ก้อนสีเขียว และก้อนสีแดง ในขนาดที่ต่างกัน

รูป output จาก git status แบบก้อนๆ
รูป output จาก git status แบบก้อนๆ

Diff

$ git diff
$ git diff --staged

มักจะมาแพ็คคู่กับ git status เพื่อรีวิวไฟล์ที่แก้ไปแล้ว (สถานะ modified) ผ่าน diff view อีกที

ใส่ --staged ไปเพื่อ diff ไฟล์ที่ add แล้ว (สถานะ staged) แต่ยังไม่ได้ commit

และจะดู diff view ก่อน commit ทุกครั้งเพื่อเช็คอีกทีว่าทุกอย่างที่แก้ไป ใช่สิ่งที่ต้องการหรือไม่

รูป output จาก git diff
รูป output จาก git diff

(ผมใช้ diff-so-fancy กับ diff view ทำให้อ่านง่าย สบายตา)

พักหลังมานี้ได้ลองเล่นคอมโบ git diff คู่กับ fzf เพื่อดู diff ทีละไฟล์ ดูได้จากโพสต์นี้ครับ: fzf - The Fuzzy Finder

Add

$ git add .
$ git add :/

Commit

$ git commit
$ git commit -am "message"
$ git commit --amend

สองอันแรกก็คือ commit command ธรรมดา แต่บางครั้งใช้ commit -am ไปแล้ว แต่มาเจอทีหลังว่าดันลืม add ไฟล์ที่สร้างใหม่เข้าไปด้วย

(เพราะลืมบ่อยแบบนี้ ผมจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ใช้ git commit -am แต่จะแยก git add กับ git commit กันไปเลย ช้ากว่า แต่ป้องกันการลืม add ไฟล์ก่อน commit ได้ดี)

แทนที่จะต้องสร้าง commit เพิ่มอีกอันเพื่อบอกว่าลืม add ไฟล์ ผมจะรัน git add ไปเลย แล้วใช้ git commit --amend เพื่อสร้าง commit ใหม่แทนที่ของเดิม เหตุการณ์คร่าวๆ ประมาณนี้

# ทำฟีเจอร์เสร็จ มีทั้งแก้ไฟล์เดิมและสร้างไฟล์ใหม่
$ git commit -am "blah blah"
$ git status
# อ้าว ลืม add ไฟล์ที่สร้างใหม่ไปด้วย!
$ git add .
$ git commit --amend

เพราะฉะนั้นจะใช้ก็ต่อเมื่อยังไม่ได้ push branch ไปที่ remote repo เท่านั้น

Reset

$ git reset

ใช้เอาไฟล์ที่ add ไปแล้วออกมาจาก staged ให้กลับมาเป็น modified

ส่วนมากใช้เพื่อที่จะ checkout ทิ้งไฟล์ที่ add ไปแล้ว (revert) เพราะถ้า add ไปแล้วก่อนมันจะ checkout ไม่ออกครับ

Push

$ git push origin HEAD

เอาไว้ push feature branch ปัจจุบันที่ได้สร้างใหม่ในเครื่อง พร้อมกับไปสร้าง branch ใหม่ในชื่อเดียวกันบน remote repo

Pull

$ git pull

$ git fetch origin
$ git merge origin/<branch_name>

ถึงแม้ว่า pull จะเป็น shorthand command ของ fetch+merge แต่ผมกลับชอบ fetch+merge มากกว่า เพราะ fetch มันจะยังไม่ทำอะไรกับไฟล์ในเครื่องเราจะกว่าเราจะ merge เอง รู้สึกปลอดภัยดี

(แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่มึนๆ fetch มาอย่างเดียวแต่ลืม merge ก็มโนไปเองว่า local repo เราอัพเดทล่าสุดแล้ว)

Log

$ git log -p

ต่างจาก git log ธรรมดาตรงที่จะแสดงผลทั้ง commit message และส่วนของไฟล์ที่ถูกแก้ไขใน commit นั้น

Checkout

$ git checkout .

$ git checkout -
$ git checkout <commit_hash>

$ git checkout -b feature/xxx origin/feature/xxx

Clean

$ git clean -df

ใช้ลบไฟล์ที่ยังไม่ได้ add ทิ้งไป (ไฟล์ที่สร้างใหม่ยังเป็น untracked อยู่) ใช้คู่กับ $ git checkout . บ่อยๆ เวลาทำพังแล้วหัวร้อน ทิ้งหมดแล้วเอาใหม่

Stash

$ git stash
$ git stash pop

(อ่านวิธีการทำงานของ git stash ได้จากโพสต์นู้นจ้า)

นอกจากใช้รับมือกับงานด่วนแล้ว git stash ยังมีประโยชน์เวลาต้องการทดสอบไอเดียแบบรีบๆ

เช่น เวลาทำฟีเจอร์นึงโดย solution A ไปได้ครึ่งทางแต่ยังไม่เสร็จ ดันนึกหาวิธีทำอีกแบบโดยใช้ solution B ได้ แต่ก็ไม่แน่ใจว่ามันจะใช่รึเปล่า ผมมักจะใช้ git stash เก็บ solution A ไว้ แล้วลอง solution B ดู

ถ้ามันไม่เวิร์กจริงๆ ก็ยังเอา solution A ที่เก็บไว้ใน stash ออกมาทำต่อได้อยู่

Remote

$ git remote -v
$ git remote prune origin

Branch

$ git branch -D feature/xxx

ลบ feature branch ในเครื่องเรา

Help

สุดท้ายคือ command ที่มีประโยชน์ที่สุด ก็หน้า help นั่นเอง

$ git help <sub-command>
$ man git-<sub_command>

สำหรับผมแล้ว git เป็นโปรแกรมที่ทำหน้า help (man page) ดีมากถึงมากที่สุด คำอธิบายละเอียดยิบพร้อมตัวอย่าง

รูป ตัวอย่าง man page ของ git merge
ตัวอย่าง man page ของ git merge

Alias

นอกจาก sub-command ที่ใช้บ่อยๆ แล้ว ก็มี alias ที่ตั้งไว้ (หรือไปลอกชาวบ้านมา) และได้ใช้บ่อยๆ

[alias]
  co = checkout
  poh = push origin HEAD
  pom = push orign master
  undo = reset HEAD~1

(alias ทั้งหมดที่ผมมีอยู่ที่ dotfiles:.gitconfig)

รูป output จาก git ldm
รูป output จาก `git ldm`

ใครมีเทคนิคการใช้ git ที่ชื่นชอบ มาแนะนำกันได้นะ ✌️

Related posts