มาดูฝนดาวตกกันเถอะ
ดาวตกเป็นสื่งหนึ่งที่น่าประทับใจ และตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อพบเห็น ก็เล่นออกมาแป๊ปปปเดียว แถมยังสวยอีกต่างหาก ส่วนมากคนจะขอพรกัน ปกติแล้ว เราสามารถเห็นดาวตกได้ทุกๆคืนครับ ถ้าท้องฟ้าปลอดโปร่ง ส่วนมากมักจะเจอช่วงหลังเที่ยงคืน แต่ก็ยังมี “ฝนดาวตก” (Meteor Shower or Meteor Storm) เป็นช่วงเวลาที่จะมีดาวตกมากกว่าปกติ ในทุกๆปี เราสามารถเจอฝนดาวตกจากสิบๆกลุ่มดาวเลยล่ะครับ แต่ว่าเนื่องด้วยช่วงเวลา สถานที่สังเกต หรือสภาพแวดล้่อมก็อาจจะทำให้เรามองไม่ค่อยเห็น อันนี้ผมเป็นบ่อยครับ อยากไปดู ฝนดันตกซะงั้น
สำหรับฝนดาวตกในปีนี้ ที่ฮือฮากัน(นิดหน่อย) ก็คือ ฝนดาวตกเพอร์ซิอิดส์ (Perseids) ในช่วงวันแม่แห่งชาติ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาครับ ผมก็มีโอกาสได้ไปดูเหมือนกัน ผมไปดูที่สนามกีฬากลางที่มอชอ ที่ประจำที่ผมชอบไปอยู่บ่อยๆ วันนั้นผมจำได้ดี ประัทับใจมาก เจอแต่ก้อนเมฆ… เพราะเป็นช่วงฤดูฝนในประเทศไทยพอดี แต่ฝรั่งเขาอยู่ในช่วงฤดูร้อนพอดี ดูกันสบายใจเลย อิจฉาเขาเหมือนกัน แต่เป็นคนไทยนี่แหละ ดีที่สุดแล้ว ทำใจไว้แล้วว่าคงไม่ได้เห็นดาวตก แต่ก็ยังอยากไปอยู่ดี ไม่เป็นไรครับ ของมันไม่ได้มีครั้งเดียว
ฝนดาวตกเพอร์ซิอิดส์ (รูปภาพจากเว็บไซต์สมาคมดาราศาสตร์ไทย)
ฝนดาวตกครั้งต่อไปก็คือ “ฝนดาวตกลีโอนิดส์” (Leonids) ในกลุ่มดาวสิงโต ช่วงประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ส่วนคืนที่มีอัตราดาวตกสูงที่สุดก็คือคืนวันที่ 17 พฤศจิกายน แต่ก็ประมาณ 10 - 15 ดวง/ชั่วโมง ครับ (อ้างอิงจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย) ถือว่าน้อยกว่าทุกๆปี คืนวันที่ 17 ตรงกับ วันขึ้น 7 ค่ำ นะครับถ้าจำไม่ผิด ทำให้แสงจันทร์มีผลต่อการสังเกตดาวตกพอประมาณเลยล่ะ และในเดือนธันวาคมก็จะมี “ฝนดาวตกเจมินิดส์” (Geminids) ในกลุ่มดาวคนคู่ มีอัตราการตกสูงสุดในคืนวันที่ 14 ธันวาคม อัตราเฉลี่ยก็ประมาณ 100 ดวง/ต่อชั่วโมง โอ้ ดูเหมือนเยอะดี ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าตรงกับวันขึ้น-แรมกี่ค่ำ จะมีแสงจันทร์รบกวนมากน้อยแค่ไหน แต่อย่างไรก็ตาม ฝนดาวตกเจมินิดส์นี้ “น่าลุ้น” ที่สุดแล้วล่ะครับ อย่างไรก็ตามอัตราเฉลี่ยข้างต้นมาจากการประมาณการ อย่าไปยึดติดกับมันมากเลยครับ สำหรับผมแล้ว ขอประทับใจอย่างเดียวพอ.
ฝนดาวตกลีโอนิดส์ในปี 2001 (รูปภาพจาก spaceweather.com)
ข้อมูลเพิ่มเติม
- สมาคมดาราศาสตร์ไทย The Thai Astronomical Society
- องค์การอุกกาบาตสากล International Meteor Organization